ตัวชี้วัด
ประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะจากศาสตร์ต่าง ๆ รวมทั้งทรัพยากรในการทำโครงงานเพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนางาน
สาระการเรียนรู้
- การทำโครงงาน เป็นการประยุกต์ใช้ความรู้ และทักษะจากศาสตร์ต่าง ๆ รวมทั้งทรัพยากร ในการสร้างหรือพัฒนาชิ้นงานหรือวิธีการ เพื่อแก้ปัญหาหรืออำนวยความสะดวกในการทำงาน
- การทำโครงงานการออกแบบและเทคโนโลยี สามารถดำเนินการได้ โดยเริ่มจากการสำรวจ สถานการณ์ปัญหาที่สนใจ เพื่อกำหนดหัวข้อโครงงาน แล้วรวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา ออกแบบแนวทางการแก้ปัญหา วางแผน และดำเนินการแก้ปัญหา ทดสอบ ประเมินผล ปรับปรุงแก้ไขวิธีการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน และนำเสนอวิธีการแก้ปัญหา
จุดประสงค์การเรียนรู้
พัฒนาโครงงานเพื่อแก้ปัญหาด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม
การแก้ปัญหาต่าง ๆ จำเป็นต้องมีการวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ซึ่งการทำโครงงานเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่สามารถนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางานอย่างเป็นระบบ ทั้งยังช่วยให้นักเรียนได้พัฒนาการคิด และเรียนรู้ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ซึ่งในบทที่ 2 นี้ นักเรียนจะได้เรียนรู้การทำโครงงาน โดยผ่านการใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เพื่อแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการจากสถานการณ์ที่นักเรียนสนใจ
ให้นักเรียนศึกษาหนังสือเรียน หน้า 30 – 31
หัวข้อ 2.1 การแก้ปัญหาด้วยการทำโครงงาน
สุ่มถาม 3 คน คลิก
(เนื้อหาที่ได้ศึกษาเกี่ยวข้องกับโครงงาน
ประเภทใดบ้าง – 4 ประเภทโครงงาน)
โครงงานมี 4 ประเภท ได้แก่
1. โครงงานสำรวจ รวบรวมข้อมูล
2. โครงงานค้นคว้าทดลอง
3. โครงงานศึกษาค้นคว้า คิดค้นทฤษฎีหรือแนวคิดใหม่ ๆ
4. โครงงานสิ่งประดิษฐ์
โครงงานสำรวจ รวบรวมข้อมูล
เป็นการรวบรวมข้อมูลเฉพาะเรื่อง ๆ โดยกำหนดหัวข้อแล้วทำการสำรวจ ผ่านแบบสอบถาม หรือ การสัมภาษณ์
โครงงานค้นคว้าทดลอง
เน้นการทดลองเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มีการกำหนดตัวแปรที่เกี่ยวข้อง มีผลการทดลองที่ได้ ออกมาเป็นตัวเลขที่พิสูจน์ได้
โครงงานศึกษาค้นคว้า คิดค้นทฤษฎีหรือแนวคิดใหม่ๆ
คล้ายๆ กับข้อสองแต่เน้นทำเรื่องใหม่เพื่อให้เกิด ทฤษฏี แนวคิดใหม่ ๆ สามารถทำแค่ ทฤษฏี ที่มีแนวโน้มทำออกมาได้จริง แต่ไม่ต้อง ประดิษฐ์ ออกมาจริงก็ได้ หรือถ้าทำจริง ก็เป็นแค่ต้นแบบ
โครงงานสิ่งประดิษฐ์
เป็นโครงงานที่นำความรู้ทฤษฎี หลักการ มาประยุกต์ใช้
แล้วประดิษฐ์ออกมาเป็นเครื่องมือ หรือ อุปกรณ์ต่างๆ ที่จับต้องได้จริง ใช้ได้จริง