ภาพจำลองจากข้อมูลดังกล่าว
ครูและนักเรียนร่วมกันพิจารณาทั้งห้องเรียน โดยใช้บทบาทสมมติ แบ่งนักเรียนเป็น 4 กลุ่ม แล้วสนทนาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในมุมมองของแต่ละคน (ตามที่ได้รับบทบาทสมมติ)
- ทีมคณะทำงาน
- กลุ่มผู้แทนชุมชน
- กลุ่มเด็กในชุมชน
- ผู้ปกครองของเด็ก
ขอบเขตของปัญหานี้คืออะไร ?
ต้องใช้ความรู้ด้านใดบ้างในการแก้ปัญหานี้ ?
แนวทางการแก้ปัญหาต้องทำอย่างไรบ้าง ?
Guide
- พื้นที่สนามเด็กเล่นอยู่ทางด้านใดของหมู่บ้าน
- ลักษณะพื้นสนามเป็นอย่างไร
- มีทางเดินเข้าออกอย่างไร
- หากขับรถมาจะมีพื้นที่จอดหรือไม่
- เครื่องเล่นอยู่ที่ใดของสนามเด็กเล่น
- แสงสว่างตอนกลางคืนเป็นอย่างไร
- ช่วงวัยใดที่จะมาใช้สนามเด็กเล่น
- เด็กเล็กจะมาคนเดียวหรือไม่
- จะมีบุคคลใดเข้ามาในสนามเด็กเล่นบ้าง
- แต่ละวันจะมีคนมาใช้สนามเด็กเล่นกี่คน
- เด็กแต่ละวัยใช้สนามเด็กเล่นรูปแบบใดกันบ้าง เครื่องเล่นแบบใด เล่นแบบใด
- แหล่งน้ำที่ห่างไป 100 เมตร มีข้อดีอย่างไร
- แหล่งน้ำที่ห่างไป 100 เมตร มีข้อเสียอย่างไร
การคิดเชิงออกแบบ
1. การระบุและตีความปัญหา
2. การพัฒนาแนวคิด
3. การสร้างแนวทางการแก้ปัญหา
กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม
องค์ประกอบของการสร้างเทคโนโลยี
ให้นักเรียนเลือกสถานการณ์ที่เป็นปัญหาในโรงเรียนหรือชุมชน แล้วออกแบบวิธีการ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยภาระงานนี้ให้ทำผ่าน Google Form (ไม่ต้องทำลงในสมุด) โดยตอบในแบบฟอร์มด้านล่าง