แนวคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking)
เป็นกระบวนการวิเคราะห์ปัญหา เพื่อให้ได้แนวทางการหาคำตอบอย่างเป็นขั้นตอนที่สามารถนำไปปฏิบัติได้โดยบุคคลหรือคอมพิวเตอร์อย่างถูกต้องและแม่นยำ ซึ่งเรียกว่า อัลกอริทึม ทักษะการใช้แนวคิดเชิงคำนวณจึงสำคัญต่อการแก้ปัญหา ช่วยให้สามารถสื่อสารแนวคิดกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงช่วยพัฒนาพื้นฐานในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยแนวคิดเชิงคำนวณมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ส่วน ได้แก่
การแบ่งปัญหาใหญ่เป็นปัญหาย่อย
(Decomposition)
หมายถึงการย่อยปัญหาหรือระบบที่ซับซ้อนออกเป็นส่วนเล็กๆ เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการและแก้ปัญหา เช่น หากต้องการทราบว่าในกระปุกออมสินมีเงินเท่าไร ก็แยกนับแบงค์ นับเหรียญแล้วรวมทั้งหมด
เมื่อเราย่อยปัญหาออกเป็นส่วนเล็กๆ ขั้นตอนต่อไปคือการหารูปแบบหรือลักษณะที่เหมือนกันของปัญหาเล็กๆ ที่ถูกย่อยออกมา เช่น แบงค์ร้อยสีแดง แบงค์ยี่สิบสีเขียว เหรียญสิบมีเหรียญเล็กๆ ตรงกลาง เหรียญห้ามีขอบสีแดง แล้วแยกตามรูปแบบจะได้นับได้ง่าย เป็นต้น
การพิจารณารูปแบบ
(Pattern recognition)
การคิดเชิงนามธรรม
(Abstraction)
คือการมุ่งความคิดไปที่ข้อมูลสำคัญ และคัดกรองส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป เพื่อให้จดจ่อเฉพาะสิ่งที่เราต้องการจะทำ เช่น เวลานับเหรียญสองบาท (ซึ่งมีทั้งแบบสีทองและสีขาว) ก็จะไม่สนใจว่าสีอะไรขอแค่เป็นเหรียญสองบาทก็นับได้เลย เป็นต้น
คือการพัฒนาแนวทางแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน หรือสร้างหลักเกณฑ์ขึ้นมาเพื่อดำเนินตามทีละขั้นตอนในการแก้ไขปัญหา เช่น เวลาเราจะนับเงินในกระปุกออมสินสามารถบอกวิธีการเหล่านี้ให้ใครทำ ก็จะได้ผลลัพธ์เหมือนกัน โดยเพียงแค่บอกว่า ให้นับจำนวนเหรียญได้เท่าไรให้คูณค่าของเหรียญนั้น เป็นต้น
การออกแบบอัลกอริทึม
(Algorithm)
ภารกิจช่วยอัศวินไปหาเจ้าหญิง
(โดยการใช้แนวคิดเชิงคำนวณ ให้ใช้จำนวนช่องน้อยที่สุด)
1. ไม่มีอุปสรรคใดๆ
2. มีอุปสรรคทั้งสองเส้นทาง
3. มีอุปสรรคและมีอาวุธให้
ให้นักเรียนยกตัวอย่างเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน ที่สามารถนำแนวคิดเชิงคำนวณไปใช้ในการแก้ปัญหาได้ พร้อมทั้งบอกขั้นตอนคร่าว ๆ
ตรวจสอบรายชื่อนักเรียนที่ส่งงานแล้ว คลิกที่นี่