ติดตามผลงานกิจกรรมที่ 2.6 ร่วมกันอภิปราย คลิก
เมื่อได้ชิ้นงานหรือลงมือแก้ปัญหาแล้ว ควรมีการทดสอบว่าชิ้นงานหรือวิธีการที่สร้างขึ้นสามารถใช้งานหรือแก้ปัญหาได้จริงหรือไม่ โดยมีการกำหนดเกณฑ์ในการทดสอบที่สอดคล้องกับขอบเขตการแก้ปัญหาที่เราได้ระบุไว้ในขั้นระบุปัญหา
ในกรณีที่ชิ้นงานหรือวิธีการแก้ปัญหายังมีข้อบกพร่องหรือไม่สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัตถุประสงค์ ควรนำผลการทดสอบมาวิเคราะห์ และหาวิธีการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้ได้ชิ้นงานที่ตรงตามความต้องการ
นอกจากการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์โดยการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีประโยชน์และมีความคิดสร้างสรรค์แล้ว นักเรียนคิดว่ายังมีวิธีการใดที่ทำให้ผลิตภัณฑ์มีความแตกต่างจากผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ในท้องตลาด และไม่สามารถลอกเลียนแบบได้
![](http://www.tawat.nanoi.ac.th/wp-content/themes/zoom-lite/assets/images/misc/placeholder/ajax-loader.gif)
ตัวอย่างจากโครงงานเก้าอี้ช่วยพยุงผู้สูงอายุ
![](http://www.tawat.nanoi.ac.th/wp-content/themes/zoom-lite/assets/images/misc/placeholder/ajax-loader.gif)
![](http://www.tawat.nanoi.ac.th/wp-content/themes/zoom-lite/assets/images/misc/placeholder/ajax-loader.gif)
![](http://www.tawat.nanoi.ac.th/wp-content/themes/zoom-lite/assets/images/misc/placeholder/ajax-loader.gif)
กิจกรรมที่ 2.7 การทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขวิธีการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน
ให้นักเรียนกำหนดเกณฑ์ในการทดสอบชิ้นงานหรือวิธีแก้ปัหาที่สอดคล้องกับขอบเขตของปัญหา และทำการทดสอบและประเมินผล หากพบข้อบกพร่องหรือจุดด้อยให้เสนอแนวทางปรับปรุง
*** ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม คลิกที่นี่
*** ในทุกขั้นตอนของการดำเนินโครงงาน ให้นักเรียนบันทึกข้อมูลในกลุ่ม Facebook ที่สร้างไว้เป็น Logbook และทุกขั้นตอนให้ถ่ายภาพไว้เป็นหลักฐาน รูปภาพทุกขั้นตอนในการลงมือปฏิบัติและสร้างชิ้นงาน ตลอดระยะเวลาในการทำโครงงาน เพื่อนำมาประกอบการนำเสนอโครงงานเป็นลำดับต่อไป